Sidebar

ยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อการพัฒนาทักษะ Soft Skills

วันที่ 18 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมอาคาร 17 สำนักวิทยบริการฯ ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี กล่าวเปิดโครงการและบรรยายพิเศษ โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อการพัฒนาทักษะ Soft Skills มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2567 ซึ่งจัดโดย กองพัฒนานักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ Soft skills นักศึกษา ตามเป้าหมายการพัฒนาผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษา (Student based Outcome) จากกระบวนการใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม และการนวัตกร สู่นวัตกรรมชุมชน รวมทั้งเพื่อให้อาจารย์ประยุกต์ใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม และทักษะการเป็น Facilitator & Coaching ในการให้คำปรึกษาและการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยได้รับการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และสร้างผลกระทบที่ชัดเจนต่อชุมชน จากการมีส่วนร่วมของอาจารย์ ที่ปรึกษาและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคม ด้วยเทคนิคการ Facilitator & Coaching เพื่อการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมชุมชนสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ระหว่างวันที่ 18 - 19 มีนาคม 2567 , กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะ soft skill สำหรับนักศึกษาด้วยเครื่องมือวิศวกรสังคม สร้างนวัตกรสู่ชุมชนนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 18 - 19 มีนาคม 2567 , กิจกรรมที่ 3 โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 20 - 22 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นกิจกรรมในการฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวิศวกรสังคมจริงในชุมชน ที่ตำบลโคกม่วง อ.โนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีทีมวิทยากร (SEAL) ได้แก่ ผศ.ดร.ตฤณกร เกตุกุลพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม , อาจารย์ฉัตรเกษม ดาศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ , อาจารย์ศิรินทิพย์ คำมีอ่อน และ อาจารย์จิรพร จันลา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย อาจารย์ จำนวน 20 คน และนักศึกษาจากทุกคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 70 คน รวมจำนวน 90 คน

การพัฒนาทักษะ Soft Skills

การพัฒนาทักษะ Soft Skills

การพัฒนาทักษะ Soft Skills

 


ข่าวโดย : งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


ปฏิทินการศึกษา/กิจกรรม

Social Media