Sidebar

เวทีระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง และกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงอย่างยั่งยืน

วันที่ 25 มีนาคม 2567 ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี กล่าวเปิดโครงการจัดเวทีระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง และกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง อย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมศูนย์การศึกษาบึงกาฬ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง สร้างหลักสูตรท้องถิ่นพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง และเป็นการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงอย่างยั่งยืนให้กับนักเรียนในพื้นที่

ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย คณะครูจากโรงเรียนในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 8 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านโนนสมบูรณ์ (ธนาคารกรุงเทพ 29) โรงเรียนบ้านแสนสำราญ โรงเรียนบ้านโนนวังเยี่ยม โรงเรียนบ้านโนนสา โรงเรียนบ้านนาคำ โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์ โรงเรียนบ้านท่าไคร้ โรงเรียนอนุบาลบึงกาฬวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบึงกาฬ และโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยานุสรณ์ จากการระดับความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรได้ข้อสรุปดังนี้

1. ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่นพื้นที่ชุมน้ำกุดทิง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

2. กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมายที่ใช้หลักสูตรการเรียนรู้คือ นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาและนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา รอบพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงทั้ง 10 โรงเรียน

3. รายละเอียดเนื้อหาสาระหลักสูตรการเรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง ประกอบไปด้วย 10 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นที่ชุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ประวัติพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พืชน้ำพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 นกในพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สัตว์อื่นๆ ในพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

คณะทำงานอยู่ในระหว่างการร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจัดเวทีฯ และอยู่ในขั้นตอนพัฒนาเล่มร่างหลักสูตร เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ และปรับแก้จัดทำเป็นหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ เมื่อหลักสูตรเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะดำเนินการกิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้หลักสูตรท้องถิ่นพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง ในลำดับต่อไป 

ทั้งนี้ จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทยที่มีพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติถึง 2 แห่ง คือ พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง และพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามอนุสัญญาแรมชาร์ ลำดับที่ 12 ของประเทศไทย และลำดับที่ 1,733 ของโลก ต่อจากพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง แหล่งน้ำเพียง 2 แห่ง ที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายหลังจากที่กุดทิงถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำก็ได้มีการกำหนด เขต "ห้ามล่าเด็ดขาด" ขึ้นมา 5 จุด เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูกุดทิง แต่ละจุดมีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ซึ่งชาวบ้านและชุมชนรอบกุดทิงได้รับประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่ ด้านการประมง ด้านการปศุสัตว์ และด้านเกษตรกรรม ดังนั้น ทุกคนควรร่วมมือกันอนุรักษ์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด และถูกวิธี เพื่อลดการกระทำ ที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฉะนั้น การให้การศึกษาหรือความรู้และสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชนรอบกุดทิง ให้มีความตระหนัก รัก หวงแหน ช่วยกันอนุรักษ์กุดทิง จนกระทั่งชุมชนเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการ ดูแลและอนุรักษ์กุดทิงได้ด้วยตนเอง

 

02

02


ข่าวโดย : งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


ปฏิทินการศึกษา/กิจกรรม

Social Media